หากคุณรักที่จะเป็นสาวกชาวเขียว เหลือง แดง คุณจำเป็นต้องรู้ความเป็นมาของ Reggae อย่างถ่องแท้ซะก่อน เพื่ออรรถรสในการเสพดนตรีReggae เป็นแนวดนตรีแอฟริกัน-แคริบเบียน ซึ่งพัฒนาขึ้นบนหมู่เกาะจาไมก้า และมีความชิดใกล้เชื่อมต่อกับลัทธิรัสตาฟาเรียน (Rastafarianism) รากดั้งเดิมของ Reggae สามารถค้นหาได้จากดนตรีเทรดิชั่นหรือประเพณีนิยมของแอฟริกัน-แคริบเบียน ที่มีพอๆ กับดนตรี Rhythm&Blue หรือ Soulของอเมริกัน
Reggae เป็นดนตรีที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่เดียวในโลกของประเทศจาไมก้า ซึ่งอิทธิพลทางดนตรีมาจากนิวออร์ลีน ริธึ่มแอนด์บลูส์ มาจากการฟังวิทยุทรานซิสเตอร์ที่รับคลื่นสั้นจากสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ถ้าย้อนกลับกันไปจริงๆ แล้ว รากเหง้าของดนตรีคนแอฟริกัน-แคริบเบียน จะมีเพลงโฟล์คของตัวเอง ที่เรียกว่า เมนโต (Mento) มีท่วงทำนองเพลงไปในทางแนวดนตรีคาลิปโซ(Calypso) เนื้อหาของบทเพลงจะพูดถึงการเรียกร้องสิทธิของตัวเอง และปัญหาความยากจนต่อประเทศเจ้าอาณานิคม ในหมู่เกาะอินดีสตะวันตกในทะเลแคริบเบียน
การพัฒนาดนตรีเมนโตนำมาผสมกับ Rock'n roll,Soul& Rhythm&Blue ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา พัฒนาเปลี่ยนแปลงจังหวะเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นดนตรีสกา (Ska) จนมาถึงปี 1968 ก็ได้มีการพัฒนาจนถึงขีดสุด ดนตรี Reggae จึงถือกำเนิดขึ้น ภายใต้แนวความคิดของลัทธิรัสตาฟาเรียน เพลง Reggae เพลงเเรกที่บันทึกเสียงออกสู่ตลาดในปี 1968 เป็นผลงานของทูตส์ ฮิบเบิร์ต เเห่งวง เดอะ เมย์ตัลส์ ชื่อเพลง "Do The Reggae" แต่บางกระแสกล่าวว่า เพลง "Nanny Goat" ของ Larry&Alvin เป็นเพลง Reggae เพลงเเรก จังหวะ Reggae เป็นจังหวะที่เน้นความสำคัญของกลองเเละเบส การให้จังหวะของกลองเเละเครื่องเป่า จังหวะการเคาะที่เเตกต่างจากจังหวะร็อคคืออยู่ที่จังหวะ 1-3 ในขณะที่ร็อคอยู่ที่ 2-3 เนื้อหาของบทเพลงสะท้อนถึงลัทธิรัสตาฟาเรียน เเละ วิพากษ์วิจารณ์สังคมตามมุมมองของชาว รัสตา ทรงผมฟั่นเชือกหรือเดรด ล็อค อุดมคติทางการเมืองและสังคม ในการพาชาวแอฟริกัน-แคริบเบียน กลับสู่แผ่นดินในทวีปแอฟริกา
สกา (Ska) และร็อกสเตดี้ (Rocksteady) คือพื้นฐานทางแนวดนตรีผู้มาก่อนเร็กเก้ในยุคทศวรรษที่ 60 ก่อนที่ Bob Marley&The Wailers จะทำให้ดนตรีเร็กเก้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก Bob Marley&The wailers ก็เคยบันทึกเสียงในแนวดนตรี Ska &ร็อกสเตดี้ในช่วงแรกในอาชีพของเขา สไตล์ดนตรีเร็กเก้ที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากเรียกกันว่า รูทส์ เร็กเก้ (roots reggae) หรือ รูทส์ ร็อก เร็กเก้(ROOTS ROCKREGGAE)
ดนตรี dub เกิดจากดนตรี rocksteady เเละ reggae ตั้งเเต่ยุค 1960 เพราะได้มีการคิดค้นการซ้อนเสียงเบสเข้าไปสองครั้ง (duble) ทำให้เกิดเสียงที่เเน่นขึ้นหลังจากนั้นก็ลองซ้อนเเบบเหลื่อมๆกันจนทำให้เกิดเสียงdelay จนมาถึงวันนึง เทคโนโลยีก้าวหน้าจึงทำให้เกิดอุปกรณ์เเปลงเสียง(effect)เพื่อให้เกิดเสียงdelay เเละ space echo ซึ่งนี่เเหละที่มาของดนตรีdub ที่นิยมให้เสียงeffectที่เรียกว่า deley เเละ echo มากๆ roots เเปลว่า ราก รากของมนุษย์ทุกคนคือ บรรพบุรุษของพวกเรา และพวกคุณ roots กับ dub ไม่ได้เเตกต่างกัน เเต่มันเป็นเรื่องคนละเรื่องกัน ถ้าดนตรีของคุณมีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของคุณหรือบรรพบุรุษของคุณ เราเรียกดนตรีชนิดนั้นว่า roots music ดนตรี reggae เป็นดนตรีที่มี roots เพราะเกิดขึ้นจากวัฒนธรรมเเละบรรพบุรุษของพวกเขาเอง(African,Caribbean)ดนตรีไทย หมอลำ ลูกทุ่ง รำวง เพลงฉ่อย เพลงเรือ รองเเง็ง ก็เป็นดนตรี rootsชนิดหนึ่ง เพราะมาจากรากเหง้าวัฒนธรรมเเละบรรพบุรุษของพวกเรา เพราะฉะนั้นอย่าอายที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย ที่มีดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ที่น่าภาคภูมิใจเป็นของตัวเอง
ประวัติราชาเร็กเก
บ็อบ มาร์เลย์”“บ็อบ มาร์เลย์” หรือชื่อจริงว่า "โรเบิร์ต เนสต้า มาร์เลย์" เป็นนักดนตรีเพื่อชีวิตเพื่อการต่อสู้ของประชาชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลคนหนึ่งของโลกเกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1945 ในเขตชนบทของประเทศจาไมกา
พ่อเป็นคนผิวขาวชาวอังกฤษที่ทำงานอยู่กับราชนาวีอังกฤษ แต่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากผู้เป็นพ่อ พ่อจึงเป็นเพียงแค่คนรู้จักที่มาเยี่ยมเยียนในบางโอกาสเท่านั้น เขาจึงเติบโตมากับแม่เป็นนักร้องนักแต่งเพลงชาวจาไมกาคนแรกที่ผลักดันเอาดนตรีพื้นเมืองจาไมกา หรือ “เร็กเก” ออกสู่ตลาดโลกและกลายเป็น “ราชาเพลงเร็กเก” ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บันทึกเสียงครั้งแรกในเพลง Judge Not
เมื่อเขาอายุ 16 ปี โด่งดังทั่วอังกฤษและสหรัฐอเมริกาครั้งแรกในปี 1973 ในอัลบั้ม Catch a Fire ได้ออกโทรทัศน์ BBCสิ่งพิเศษที่มีอยู่ในตัวเขาก็คือวิธีการประพันธ์เนื้อเพลงที่สะท้อนมุมมองทางการเมือง ชีวิต และสังคมที่เฉียบแหลม คมคาย และหยั่งรากลึกสู่จิตวิญญาณ สถานการณ์พื้นฐานในทศวรรษที่ 1960-1970 นั้น ความขัดแย้งเรื่องสีผิวยังมีอยู่สูง คนผิวสีจึงเป็นเพียงพลเมืองชั้น 2ท่ามกลางระบบความคิดแบบเหยียดผิวของพวกแองโกล-แซกซอน (Anglo-Saxon)นั้น เขาใช้ดนตรีเป็นสื่อในการเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ผ่านกีตาร์ตัวหนึ่ง กับฮาโมนิการ์คู่ใจ ร้องเพลงเพื่อสะท้อนปัญหาอย่างทรงพลังดนตรีเร็กเก้ที่บ็อบนำมาขับกล่อมนั้น ถูกขบวนการคนผิวดำและต่อต้านลัทธิเหยียดผิวบางกลุ่มนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงออกถึงประเด็นทางสังคม เช่น กลุ่มรัสตาฟารี (Rasta Farians)
และต่อมาเร็กเก้ก็เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่คนผิวขาวในตอนปลายทศวรรษ 1960บ็อบ มาร์เลย์ทำให้ดนตรีเร็กเกเฟื่องฟูมากที่สุดในทศวรรษที่ 1970เขาตั้งวงชื่อ "บ็อบ มาร์เลย์ แอนด์ เดอะ เวลเลอร์ส" (Bob Marley and the Wailers) ขึ้นในปี 1964 นับเป็นศิลปินเพลงเร็กเกคณะแรกที่โด่งดังไปทั่วโลก ในปี 1975 ได้ไปเปิดการแสดงที่ลอสแอนเจลิส ผู้คนคลั่งไคล้มาก เพลงฮิตเพลงแรกในอังกฤษคือ No Woman No Cry ในปี 1975 และ Jamming ในปี 1977 และ One Love ในปี 1984บ็อบ มาเลย์แต่งงานกับริต้าในปี 1975 ประธานาธิบดีไมเคิล แมนเลย์แห่งจาไมกาสนับสนุนให้เขาจัดคอนเสิร์ตฟรี ในวันที่ 5 ธันวาคม 1975 นั้นเอง
แต่ปรากฎว่าก่อนหน้า 2 วัน มีกลุ่มมือปืนมาดักยิงตัวเขา ริต้า และผู้จัดการวงดนตรี แต่โชคดีที่ไม่มีใครเสียชีวิต เขายังคงเดินหน้าแสดงคอนเสิร์ตต่อไปทั้ง ๆ ที่ใช้ผ้าคล้องแขนกับคอเพราะบาดเจ็บปี 1976 บ็อบ มาเลย์ต้องงดรายการคอนเสิร์ตทัวร์ทั่วยุโรป เนื่องจากตรวจพบเป็นมะเร็งที่เท้าขวา อันเนื่องมาบาดแผลระหว่างการเล่นฟุตบอลในอดีตแล้วละเลยไม่รักษาบ็อบ มาเลย์กลับมาแสดงคอนเสิร์ต One Love ที่จาไมก้าอีกครั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน 1978 และได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการให้ประธานาธิบดี และผู้นำฝ่ายค้านขึ้นไปจับมือกันบนเวที และจับมือกัน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาได้รับรางวัล The United Nations' Peace Medal ในเดือนมิถุนายน 1978 นั่นเองปี 1980 เป็นผู้นำในการเฉลิมฉลองการประกาศอิสรภาพของซิมบับเวย์เดือนกันยายน 1980 บ็อบ มาเลย์ล้มลงขณะที่กำลังจ้อกกิ้งใน Central Park สวนสาธารณะกลางมหานครนิวยอร์คที่พำนักอยู่ ตรวจพบว่ามะเร็งลุกลามไปยังปอดและสมองบ็อบ มาเลย์ยังคงบินไปแสดงคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายในชีวิตที่ Stanley Theatre นครพิตสเบิร์ก เมื่อวันที่ 23 กันยายน 1980ขณะพักรักษาตัวอยู่ที่นิวยอร์ค คณะแพทย์ก็ลงความเห็นว่าหมดหวังบ็อบ มาเลย์อยากจะกลับจาไมก้าบ้านเกิด แต่ไปไม่ไหว จึงแวะพักที่นครไมอามี และจากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 1981 ด้วยวัยเพียง 36 ปีเท่านั้นศพถูกนำกลับมาฝังไว้ที่บ้านเกิดในจาไมก้า
รสนิยมการฟังเพลงของชาวจามไมกันนั้น ได้รับอิทธิพลจากสถานีวิทยุอเมริกันที่ลอยข้ามทะเลมา
ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่จากสถานีวิทยุฟลอริดา หรือหลุยส์เซียนา หรือสถานีนิวออร์ลีนส์
และสำหรับชาวจาไมกันนั้น ขอเพียงแค่เป็นเพลงร็อคแอนโรล์ที่มีกลิ่นอายของริธึมแอนบลูส์ฺก็เป็นอันใช้ได้
เพลงประเถทนี้ภายหลังเรียกว่าจังหวะโซล ซึ่งมีรากฐานมาจากดนตรีของชาวอัฟริกันผิวดำในอเมริกา ต่อมาไม่นาน ดนตรีของชาวจาไมกันก็คลี่คลายออกไป พวกเขาแต่งเพลงโดยการผสมผสานแนวเพลง ร็อคแอนโรล์ เข้ากับเพลงพื้นเมืองที่เรียกว่า "Mento" (เมนโต) ของอัฟริกันจาไมกัน หรืออาจผสมคาลิบโซที่นิยมกันในอเมริกาใต้ ผลของการผสมผสานเช่นนี้ชาวจากไมกันเรียกว่า "สกา" แต่จังหวะค่อนข้างเร็ว สกาจึงเหมาะเป็นเพลงเต้นรำของคนผิวดำ
ช่วงปลายทศวรรษ 1960 จังหวะของเพลงสกาเริ่มมีการประยุกต์เล่นให้ช้าลงกว่าเดิม และได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น "Rocksteady" (ร็อคสเตดี้) และหลังการมาถึงของร็อคสเตดี้ ก็คือการกำเนิดขึ้นของ "Reggae" (เรกเก้) เพลงร็อคในสไตล์จาไมกัน ที่หลายคนมองว่าเป็นการนำร็อคแอนโรลด์มาปรับให้มีลูกเล่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยการผสมผสานเข้ากับทำนองของท้องถิ่นจาไมกัน คล้าย ๆ สกา และร็อคสเตดี้ แต่ เรกเก้ มีจังหวะในการเล่นที่เนิบช้ากว่า
บทเพลงเรกเก้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในสถานเต้นรำ กระทั่งปี ค.ศ. 1968 บทเพลง Do The Reggae บทเพลงเรกเก้เพลงเเรก ก็ถือกำเนิดขึ้นในท้องตลาด เป็นผลงานของ Toots Hibbert แห่งวง The Maytals
กีตาร์ เบส กลอง คือเครื่องดนตรีที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของดนตรีเรกเก้ โดยเฉพาะกลองสไตล์อัฟริกันอันเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของจาไมกา
ความพิเศษอย่างหนึ่งของเรกเก้คือ "จังหวะเคาะ" ที่ชวนให้รู้สึกราวกับต้องมนต์ นั่นคือจังหวะ 1 และ 3 ซึ่งเรียกกันว่า จังหวะสะกิตจิต ต่างกับร็อคที่เคาะจังหวะ 2 และ 4 แต่การเคาะที่ 1 และ 3 ไม่ใช่ของใหม่ เพราะมาจากาการตีกลองแบบอัฟริกัน ซึ่งในจาไมการเรียกดนตรีที่เลียนเเบบสไตล์พืนเมืองว่า Root Music
ดนตรีเรกเก้พัฒนามาอย่างไม่หยุดยั้งตามรสนิยมของนักเต้นรำ ความพึงพอใจในเสียงเบสและลีลาของ เรกเก้ ส่งผลให้เพลง เรกเก้ ต่างจากเพลงสไตล์อื่น ๆ การมิกซ์เสียงเบสใส่ลงในร่องเสียง กลายเป็นที่มาของการผลิดแผ่น ซิงเกิ้ล ที่เรียกว่า Dub Side หรือดนตรี Dub อันเกิดจากดนตรี Rocksteady และ Reggae เพราะมีการคิดค้น การซ้อนเสียงเบสเข้าไปสองครั้ง (Double) ทำให้เ้กิดเสียงที่แน่นขึ้น แล้วจากนั้นก็ลองซ้อนแบบเหลื่อม ๆ ทำให้เกิดเสียง Delay จนวันที่เทคโนโลยีก้าวหน้ากก็เกิดอุปกรณ์แปลงเสียง (Effect) เพื่อให้เกิดเสียง Delay และ Space Echo ซึ่งเป็นที่มาของดนรี Dub ที่นิยมใช้ Delay และ Echo มาก ๆ พร้อมกับใส่เนื้อเพลงพูด ที่ด้นสด หรือ Improvise
ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือสเน่ห์ที่ไม่เคยเสื่อมความนิยมไปจากประชาชนชาวโลกของดนตรีแนวนี้ ส่วนการด้นสดกับ Dub Side นั้นจริง ๆ แล้วคือการเเร๊พนั่นเอง แต่เป็นการแร๊พในแนวทางของชาวจาไมกัน ที่เรียกกันว่า "Raggamuffin" (เรกก้ามัฟฟิน) และเป็นที่มาของดนตรี "Dance Hall " ในช่วงปี ค.ศ. 1970 พร้อม ๆ กับกำเนิดการ Rap ในดนตรีฮิพฮอพแถบ Bronx ใน New York
สำหรับเรา คิดว่า เพลง สกา ในจาไมกายุคแรก ๆ น่าฟังที่สุด เพราะยังไม่มีเรื่องของอิเล็กทรอนิกส์ของกีตาร์หรือออร์แกนเข้ามา มีแค่ กลอง Double Bass เครื่องเป่า และกีตาร์โปร่ง แถมเมโลดี้ที่อิงไปทางของ Jazz ด้วย ถ้าอยากรู้ว่าเป็นอย่างไร ลองฟังเพลงของ Skataletes ดูคับ ในความคิดของเรา The Skatalites เป็นวงสกาที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพราะทุกคนทุกตำแหน่งมีแนวทางที่โดดเด่นไม่แ้พ้กัน The Skatalites นับเป็นวง Ska ต้นแบบของ Ska ทั่วโลก
น้ากอล์ฟ T-Bone เคยเล่าให้ฟังว่า เคยมีโอกาสดู The Skatalites เล่นสด ๆ สมัยเรียนอยู่อเมริกา และวงนี้คือวง Ska ที่ น้ากอล์ฟ แกอยากแจมด้วยมากที่สุด
เนื้อหาเพลง Ska ในยุคแรก ๆ ยังไม่ค่อยพูดถึงลัทธิ Rastafarian มากนัก แต่ก็มีเรื่องการเมือง,สิทธิมนุษย์ชน , ธรรมชาติ , ความรัก เป็นเนื้อหาหลัก แต่หลังจากลัทธิ Rastafarian เริ่มเฟื่องฟู กลุ่มคนดำในสลัม จาไมกา เริ่มปวารณาตัวเข้านับถือ ลัทธินี้มากขึ้น Ska จึงเริ่มพัฒนาเนื้อหาและแนวดนตรีมาเป็น Rocksteady
จริงอยู่ที่ดนตรีของ Ska ลดความกระแทกกระทั้นลงกลายเป็น Rocksteady ทว่าเนื้อหาของเพลงกลับร้อนแรงขึ้นตามอุณหภูมิของการเมือง ซึ่งก็มีผลจากเหตุการณ์การใช้กำลังปราบปรามจลาจลระหว่างผิวในปี ค.ศ. 1965 โดยเหตุผลครั้งนั้นได้ปลุกจิตสำนึกของคนดำรุ่นใหม่ ให้ตื่นขึ้นจากความฝันแห่งโลกยุคเก่า ด้วยเหตุนี้ Rocksteady จึงถือกำเนิดขึ้น มีบทเพลงใหม่ ๆ ทยอยออกมาเร้าคนหนุ่มสาว ให้กล้าแสดงความรู้สึกต่อต้านสังคมอย่างไม่ขาดสาย
ไม่มีความคิดเห็น:
ไม่อนุญาตให้มีความคิดเห็นใหม่